วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การแทนที่ของอากาศ

ในการทดลองเรื่อง ต้นเหตุของลมบก ลมทะเล... เริ่มต้นก็ยากแล้ว เนื่องจาก
 ชื่อเรื่องอาจจะแตกต่างกัน เช่น ดินและน้ำถ่ายโอนความร้อนเท่ากันหรือไม่ (สสวท. ป.5) การดูดกลืนและคายความร้อนของดินและน้ำ(วรรณิพา รอดแรงค้า และคณะ.2548 :240)  และอื่น ๆ เป็นต้น
   การตั้งเพื่อที่จะอธิบายให้สอดคล้องกับปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าเรากำหนดสาเหตุที่ทำให้เกิดลมบกลมทะเล นั้น เป็นปัญหาที่นักเรียนจะคิดสมมุติฐานที่ไกลตัวมาก
   ครูกำหนดชื่อเรื่อง หรือประเด็นปัญหาที่นักเรียนสามารถที่จะตั้งสมมุติฐานจากข้อมูลที่พึงมี หรือไม่ก็ ครูควรเตรียมความรู้เบื้องต้นก่อนการทดลองจะทำให้ปฏิบัติการมีทิศทางมากขึ้น
   จากการสังเกตนักเรียนในเบื้องต้นของการทำปกิบัติการแบบ Easy Lab Control : ELC ที่มุ่งให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนแนวทาง พิสูจน์ตรวจสอบสมมุติฐาน ที่เกิดจากบทเรียน ครู และนักเรียนกำหนด ดังจะพบสิ่งที่นักเรียนเตรียมมานั้น อาจจะก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนของความเข้าใจในมโนมติ ถึงแม้บางปฏิบัติการนักเรียนอาจจะเคยรับรู้มโนมติดังกล่าวมาบ้างแล้ว
    ดังกรณีการทดลองข้างต้น เพียงแค่ชื่อปกิบัติการก็ทำให้นักเรียน งง และสงสัยว่า ครูทำไมถึงมากำหนดว่า พื้นน้ำ และพื้นดินน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ลมบกลมทะเล
   ยามฝนฟ้าคะนอง หรือฤดูมรสุม ยังอยู่ในกรอบ ขอบข่ายของนิยามลมบกลมทะเลหรือไม่
   ครูงงคำถามนักเรียน เขาคิดได้อย่างไร ซึ่งแสดงให้เห็นจุดอ่อนที่เกิดจากการเตรียมการที่บังคับการปฏิบัติการให้แก่ นักเรียนมากเกินไป จึงทำให้นักเรียนไม่อยากที่จะเตรียมอุปกรณ์ ถ้าเหตุผลครูไม่เพียงพอ นักเรียนก็จะงดการเตรียมอุปกรณ์  ปัจจัยอะไรที่ทำให้ความเป็นเหตุเป็นผลของนักเรียนเริ่มมาต่อรองกับครูในการ เตรียมอุปกรณ์ ดังเหตุผลที่นักเรียนเสนอ
     1. เราเตรียมอุปกรณ์มามากครั้งแล้ว
     2. เราอยากไปเห็นที่ทะเลจริง ๆ มากกว่า
     3. นักเรียนมีมโนมติแล้ว ดังคำกล่าวนักเรียนที่ว่า "ก็แน่นอนอยุ่แล้วน้ำจะต้องมีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นดิน อยู่บนห้องเหนือพื้นดินยังร้อนเลยครับ"
    สิ่งที่ครูจะควบคุมความคิดความเข้าใจต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินการปฏิบัติการเป็นไปได้ต้องใช้ทักษะการสื่อสารเฉพาะตัวของ ครูที่จะพยายามโน้มน้าวจิตมาสนใจสิ่งที่จะต้องปกิบัติ ที่นอกเหนือจาการขู่ด้วยคะแนน
   สิ่งที่ครูจะต้องดึงความสับสนความสนใจอื่น ๆ มาสู่ปฏิบัติการนั้น ครูใช้มาตรการคำถาม แน่จริงตอบได้...
   ครูให้สังเกตเทียนไขที่จุดไฟ และสังเกตเปลียวเทียน ที่เห็นเป็นแก๊สร้อน
 

คำถามที่ว่า แก๊สร้อนลอยตัวขึ้นไป นั้นได้ตลอดเวลานั้น มีแก๊สหรืออากาศอื่นเข้ามาแทนหรือไม่


ครูใช้ไม่ขีดไฟที่จุดแล้วดับจนเกิดควัน สังเกตควันที่ใกล้เปลวเทียน

แสดงว่าการเกิดลมเกี่ยวข้องกับความร้อน

ดวงอาทิตย์ให้พลังงานความร้อนแก่โลกในแต่ละจุดที่ไม่ห่างกันมาก ถือว่าได้รับพลังงานความร้อนเท่า ๆ  ครูถามว่า... ระหว่าพื้นดินที่แทนด้วยดินทรายในบิกเกอร์ของเธอ และพื้นน้ำทะเลที่แทนด้วย บีกเกอร์น้ำของเธอเช่นกัน สิ่งใดจะรับและคายความร้อนได้เวกว่ากัน ในเวลา 25 นาที เธอสามารถจะพิสูจน์สิ่งที่เธอคิดจะตอบได้หรือไม่

     ความวุ่นวายกลับมาเป็นเช่นเดิมอีกครั้ง แต่ละกลุ่มเริ่มปฏิบัติการในเวลาที่เหลือ โชคดีที่วันนี้แสงแดดเต็มที่ นักเรียนจึงได้นำคำชี้แจงในปฏิบัติการ(Direction Lab) มาดำเนินการ
  หลังจากที่นักเรียนดำเนินการทดลอง ค่าอุณหภูมิที่บันทึกได้มันแตกต่างกัน ในแต่ละกลุ่ม เริ่มต้นไม่เหมือนกัน เช่น 28 หรือ 29องศาเซลเซียส ในช่วงเวลาทุก ๆ 5 นาทีก็มีแนวโน้มของอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปตามที่ครูภาวนาเช่นกัน ถึงแม้ประสบการณ์ในการสอนเรื่องนี้มามากกว่า 10 ปีก็ตาม
   เคล็ดลับที่ครูไม่ลืมเลือน คือ ดินทีนักเรียนเตรียมมาจะต้องเป็นทรายหยาบ มากกว่าดินชนิดอื่น  ๆ และต้องเริ่มต้นที่ที่ทรายนั้นเย็นปกติด้วย จึงจะทำให้ครูไม่ต้องใช้เหตุปัจจัยแทรกอื่น ๆ มาอธิบายให้นักเรียน งง เข้าไปมากกว่านี้
    เคล็ดลับที่สองที่ครูควรพึงตระหนักคือ ไม่ควรตั้งชื่อให้ไกลจากสมมุติฐาน
    เคล็ดลับที่สาม ครูอาจจะต้องสาธิตปฏิบัติการบางอย่างเพื่อดึงนักเรียนเข้ามาในประเด็นที่ครูผูกไว้ในเบื้องหลัง
   เคล็ดลับที่สี่ มาตรการของคำถาม มันยังใช้ได้ดีทุกสถานการณ์
   เคล็ดลับที่ห้า ครูควรให้กำลังใจตนเองและนักเรียนด้วย คำชม คือ สื่อภาษาที่มีค่ามากที่สุด
   ขอให้ครูทุกท่านอย่าท้อต่อปฏิบัติการที่จะสอนแก่นักเรียน ถึงแม้นนักเรียนที่ผ่านปฏิบัติการยอดเยิ่ยมจะสอบประมวลผลได้ต่ำก็ตาม แต่ครูที่ยึดมั่นประสบการณ์ Skill Process มากกว่าตัว Body of Knowlege ก็ยังมีคนที่สนใจและหวังว่า เราจะไม่ได้ถูกหลอกด้วยความรู้ ซึ่งประสบการณ์ไม่สามารถถ่ายทอดหลอก ๆ ให้กันได้ ของใครของมันที่จะเก็บเกี่ยวเอา
   ผมอยากเห็นนักเรียนไทยพิสูจน์ด้วยตนเองในทางที่เหมาะที่ควร และไม่เชื่อในสิ่งที่คิดว่าเป็นความรู้นั้น ๆ พิสูจน์แล้ว ....