วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

ลักษณะการเคลื่อนที่ของอากาศ


การเคลื่อที่ของอากาศเกิดจากความกดอากาศที่แตกต่างกัน ทำให้อากาศเคลื่อนที่ โดยอากาศจะเคลื่อนที่จากความกดอาศสูงมาสู่ความกดอากาศต่ำครับ
ความกดอากาศสูง ก็คือ มวลอากาศเย็นนั้นเองครับ ซึ้งอากาศเย็นจะรอยอยู่ต่ำเพราะความหนาแน่นสูงนั้นเอง

ความกดอากาศต่ำ คือมวลอากาศร้อน ซึ้งอากาศจะมีอุณภูมิสูงความหนาแน่นต่ำ จึงลอยขึ้นสู่ที่สูงครับ

การเคลื่อนที่ของอากาศก็จะเกิดเมื่อความกดอากาศต่างกัน ถ้าความกดอากาศต่างกันมากๆก็จะเกิดพายุหละครับ เพราะมวลอากาศเย็นมาปะทะมวลอากาศร้อนจะเกิดการควบแน่นเกิดขึ้นทำให้เกิดลม มรสุม หรือฝนตกขึ้นได้
เคยสังเกตุตอนกินน้ำเย็นไหมครับ ถ้าเราวางแก้วน้ำเย็นตั้งทิ้งใว้จะมีหยดน้ำเกิดขึ้นที่รอบๆแก้ว นั้นก็คือผลที่เกิดจาก อากาศที่อยู่รอบแก้วซึ้งอุณหภูมิสูงกว่าน้ำในแก้วมาปะทะกับแก้วซึ้งมี อุณหภูมิเย็นกว่า จึงเกิดการควบแน่นเกิดขึ้นทำให้เกิดหยดน้ำขึ้นงัยครับ
ตัวอย่าง การเคลื่อที่ของอากาศ อย่างที่คนอื่นเล่ามาข้างต้น ลมบก ลมทะเล ก็ใช่ ที่เห็นๆตามข่าวก็มี เช่นความกดอากาศสูงจากจีนพัดเข้ามาประเทศไทย ก็จะเกิดฤดูหนาว ช่วง ธันวาคม ถึงมีนาคม งัยครับ ถ้าฤดูฝนก็จะเป็นความกดอากาศต่ำจากทะเลจีนใต้ ลมมรสุมตะวันออก มีเยอะเลย (จากข่าวพยากรอากาศ ก็ได้ยินบ่อยๆหนะครับ) ซึ้งที่เล่ามาก็เกิกจากความกดอากาศที่ต่างกันนั้นเอง

อันนี้คือข้อมูลจากเว็บไชต์นะครับ อ่านดูนะ

การเกิดลม มีสาเหตุมาจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1.ความแตกต่างของอุณหภูมิในที่ 2 แห่ง อากาศที่มีอุณหภมิที่สูงจะขยายตัว ความหนาแน่นของอากาศจะลดลง อากาศจึงลอยตัวสูงขึ้น บริเวณที่มีอุณหภูมิของอากาศต่ำกว่า มีความหนาแน่นของอากาศมากกว่า จากบริเวณใกล้เคียง จะเคลื่อนเข้ามาแทนที่ ทำให้เกิดลม

2.ความแตกต่างของความกดอากาศ อากาศเมื่อได้รับความร้อนจะมีความกดอากาศต่ำ ความหนาแน่นลดลง จึงลอยตัวสูงขึ้น อากาศเย็นที่มีความหนาแน่นมากกว่า และมีความกดอากาศสูงกว่าจะเคลื่อนเข้าแทนที่ ทำให้เกิดลม
แผนที่อากาศ จากแผนที่อากาศตัวอักษร H แทนหย่อมความกดอากาศสูงหรือบริเวณที่มีความกดอากาศสูง และ L แทนหย่อมความกดอากาศต่ำ หรือบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ เราทราบมาแล้วว่า ถ้าความกดอากาศในที่สองแห่งแตกต่างกันจะทำให้เกิดลมพัด แต่ถ้าความกดอากาศในสองบริเวณแตกต่างกันมาก จะเกิดลมพัดด้วยความเร็วสูง ซึ่งเราเรียกว่า ลมพายุ บางครั้งลมพายุที่เกิดขึ้นจะพัดวนรอบจุดศูนย์กลาง ซึ่งเรียกว่า พายุหมุน เช่น พายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกพายุหมุนที่เกิดเหนือทะเล หรือมหาสมุทรในเขตร้อน

ที่มา:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น